การจัดลำดับความสำคัญและการระบุประเด็นที่สำคัญด้านความยั่งยืน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ปรัชญาที่ว่า “ความสำเร็จต้องมาพร้อมด้วยคุณธรรม” การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ จึงต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย จึงได้กำหนดประเด็นที่สำคัญเพื่อความยั่งยืนดังนี้

01.
การวิเคราะห์ประเด็นด้านความยั่งยืน

บริษัทนำความสนใจ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจมาวิเคราะห์สรุป เพื่อสนองตามความคาดหวังคู่ขนานกับการดำเนินธุรกิจ

02.
การจัดลำดับความสำคัญ

นำประเด็นด้านความยั่งยืน มาพิจารณาโดยวิเคราะห์จากผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อคัดกรองประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อความยั่งยืนของบริษัท โดยเรียงประเด็นสำคัญตามลำดับ

03.
การทวนสอบ

คณะทำงานเพื่อความยั่งยืนดำเนินการทวนสอบความครบถ้วน ของประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืนขององค์กร แล้วนำเสนอให้กรรมการผู้จัดการใหญ่และคณะผู้บริหารร่วมกันพิจารณาทวนสอบการจัดลำดับความสำคัญและอนุมัติประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน นำประเด็นต่างๆ ในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ในกระบวนการทำงานทุกฝ่าย โดยมีดัชนีชี้วัดการทำงาน (BSC) เพื่อติดตามตามประเมินผลงาน

  1. การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  2. การพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า
  3. การบริหารความเสี่ยง
  4. นวัตกรรมทางธุรกิจและการปรับตัวทางเทคโนโลยี
  5. ความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ
  6. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  7. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย
  8. การบริหารและพัฒนาบุคลากร
  9. นโยบายและแนวปฎิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
  10. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคู่ค้าท้องถิ่น และชุมชนโดยรอบ
  11. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  12. การจัดการก๊าซเรือนกระจก
  13. การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
  • การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

ด้านสังคม

  • ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  • นโยบายและแนวปฎิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
  • การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน/ สังคม

ด้านการกำกับดูแลกิจการ

  • การกำกับดูแลกิจการ
  • การพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า
  • การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
  • นวัตกรรมทางธุรกิจและการปรับตัวทางเทคโนโลยี
  • ความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ
  • การบริหารห่วงโซ่อุปทานธุรกิจ