Better Planet: Enhance eco-efficiency in construction and operation.
การดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจโรงแรม
บริษัทฯ มีโครงสร้างการบริหารธุรกิจโรงแรมที่หลายหลาย ซึ่งมีนโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่ทุกแบรนด์โรงแรมต่างแสดงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ ในปี พ.ศ. 2593 โดยใช้การบริหารจัดการพลังงาน การจัดการน้ำ การจัดการขยะของเสียให้มีประสิทธิภาพ และการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นแนวปฏิบัติเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ดี การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายนั้น งบประมาณในการลงทุน ประสิทธิภาพ และความคุ้มทุน ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ในระหว่างการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาการลงทุนที่เหมาะสมและก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย ในการลดผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจโรงแรม
ในปี 2565 โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัน กรุงเทพ นำร่องในการทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก ส่วนโรงแรมกลุ่มอื่นๆ อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและทำการทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน โอกาสถัดไป
การบริหารจัดการพลังงาน
ธุรกิจการให้บริการเป็นธุรกิจที่มีการใช้พลังงานสูงทั้งในส่วนที่เป็นการใช้งานโดยตรงจากการประกอบกิจการ และส่วนที่บริโภคโดยผู้ใช้บริการและแขกผู้เข้าพัก ทำให้การลดการใช้พลังงานในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีความท้าทาย ทั้งนี้ บริษัทฯ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดอัตราการสิ้นเปลือง แสวงหาเทคโนโลยีและพันธมิตรด้านการใช้พลังงานที่หลากหลาย เพื่อยังคงคุณภาพการให้บริการที่เป็นเลิศ แต่สามารถลดการบริโภคพลังงานไปพร้อมๆ ซึ่งการใช้พลังงานยังเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการปลดปล่อยคาร์บอนของ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และโรงแรมในเครือ
บริษัทฯ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริหารจัดการพลังงานในปี 2566 ที่บริษัทฯ มีการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเชิงกลยุทธ์อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับพันธมิตรในการศึกษาและจัดหาพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
เป้าหมาย
- บริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดปริมาณการใช้พลังงานต่อห้อง (energy intensity) ลงร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อลดต้นทุนทางด้านพลังงานและสอดคล้องต่อเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัทฯ
- เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 10 ของโรงแรมทั้งหมด ภายในปี พ.ศ.2570
- ทุกโรงแรม (ร้อยละ 100) ที่บริษัทฯ บริหารจัดการเอง มีบริการที่เกี่ยวข้องกับการลดใช้พลังงานและชดเชยคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2570
โอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ
โอกาส
- ลดต้นทุนทางธุรกิจในระยะยาวจากการบริโภคพลังงานที่ลดลง
- เพิ่มข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้านต้นทุนสำหรับโรงแรมระดับบัดเจ็ท
- ดึงดูดลูกค้าต่างชาติและลูกค้าที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ตอบสนองและส่งเสริม Sustainable lifestyle ของลูกค้า
- เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว (Green Finance) เป็นที่สนใจของนักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
ความเสี่ยงและความท้าทาย
- ความไม่เพียงพอทางด้านพลังงานในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้พลังงานสูง อาทิ ฤดูกาลท่องเที่ยว
- การลดใช้พลังงานอย่างสมดุลโดยไม่กระทบต่อการให้บริการและความพึงพอใจของลูกค้า
- พลังงานไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ จำเป็นต่อกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ แต่ก็เป็นทรัพยากรที่กระทบต่อปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนอย่างมีนัยสำคัญ
แนวทางการบริหารจัดการ
- กำหนดเป้าหมาย แผนงาน และติดตามประเมินผล
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในพื้นที่ส่วนกลางของโรงแรมและห้องพัก ผ่านการบำรุงรักษาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้และต่อยอด
- เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของลูกค้า
- สร้างความร่วมมือด้านพลังงานกับพันธมิตรต่างๆ
ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในองค์กร
2564
กิโลวัตต์-ชั่วโมง
2565
กิโลวัตต์-ชั่วโมง
2566
กิโลวัตต์-ชั่วโมง
ผลการดำเนินงาน
- ปริมาณการใช้พลังงานต่อห้องเฉลี่ย ลดลง 11.17%
- ปริมาณการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ 33,914 kwh จากโรงแรมที่มีการติดตั้ง Solar Rooftop ในปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 5% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของ ฮ็อป อินน์ ประเทศไทย
- ติดตั้ง Solar Rooftop ขนาด 10.45 กิโลวัตต์เพิ่มเติมใน 3 ฮ็อป อินน์ ประเทศไทย รวม 31.35 กิโลวัตต์
- พันธมิตรด้านพลังงานกับบ้านปูเน็กซ์
- Solar rooftop กลุ่มโรงแรมฮ็อป อินน์ ประเทศไทย
- MOU กับ SCG Cleanergy ด้านการให้บริการเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้า
- เปลี่ยนหลอดไฟและบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า
- เพิ่มจุดให้บริการ EV Charging Station
ปริมาณการใช้พลังงานของ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป
การใช้พลังงาน | หน่วย | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 | ความเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า |
---|---|---|---|---|---|
ไฟฟ้า | ล้านกิโลวัตต์/ชม. | 50.56 | 67.11 | 76.16 | 13.48% |
น้ำมันดีเซล | ล้านลิตร | 74.71 | 73.08 | 52.27 | -28.48% |
น้ำมันเบนซิน | ล้านลิตร | 24.78 | 16.46 | 10.52 | -36.08% |
ก๊าซธรรมชาติ (LPG) | ตัน | 881.49 | 1,227.09 | 1,399.40 | 14.04% |
โรงแรมระดับบัดเจ็ท | กิโลวัตต์/ห้อง | 17.61 | 13.07 | 13.36 | 2.24% |
โรงแรมระดับประหยัด | กิโลวัตต์/ห้อง | 65.06 | 32.16 | 22.19 | -31.01% |
โรงแรมระดับกลาง | กิโลวัตต์/ห้อง | 116.46 | 49.87 | 40.78 | -18.24% |
โรงแรมระดับลักชูรี | กิโลวัตต์/ห้อง | 592.95 | 165.99 | 155.64 | -6.24% |
ความเข้มข้นพลังงานเฉลี่ย | กิโลวัตต์/ห้อง | 76.87 | 41.88 | 37.20 | -11.17% |
หมายเหตุ
- ปี 2565-2566 เป็นช่วงที่สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยกลับมาฟื้นตัว โรงแรมหลายแห่งมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
- ปี 2566 ไม่นับรวมข้อมูลของเอราวัณ แบงค็อก เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุง และไม่นับรวมข้อมูลของฟู้ดคอร์ท อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เนื่องจากเป็นการบริโภคพลังงานจากผู้เช่าพื้นที่
- สามารถจัดเก็บข้อมูลการใช้เชื้อเพลิงได้ในบางการดำเนินงาน
- คำนวณรวมพลังงานไฟฟ้า น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
การจัดการทรัพยากรน้ำ
เป้าหมาย
- เป้าหมายลดปริมาณการดึงน้ำจากแหล่งน้ำรวมร้อยละ 1 ต่อปี
- ลดปริมาณการใช้น้ำต่อห้องลงร้อยละ 5 ต่อปี
โอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ
โอกาส
- ประหยัดต้นทุนการดำเนินงานจากการลดปริมาณการบริโภคน้ำที่สิ้นเปลือง
- การบริหารจัดการน้ำอย่างมีศักยภาพจะทำให้โรงแรมสามารถให้บริการได้อย่างเต็มศักยภาพตลอดปี
ความเสี่ยงและความท้าทาย
- โรงแรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือบริเวณหมู่เกาะอาจเผชิญปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในฤดูท่องเที่ยวที่มีปริมาณความต้องการใช้น้ำมาก และฤดูแล้งที่น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีไม่เพียงพอ ทำให้การให้บริการอาจสะดุดลง
แนวการบริหารจัดการ
- ติดตามประเมินความต้องการใช้น้ำ ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งและการบำบัดน้ำเสียของโรงแรมอย่างสม่ำเสมอในทุกฤดูกาล
- บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้อยู่เสมอ เลือกใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้น้ำน้อย
- สร้างการมีส่วนร่วมกับแขกผู้เข้าพักด้วยกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ
ผลการดำเนินงาน
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งหมายรวมถึงการใช้น้ำจากแหล่งน้ำ การนำน้ำมารีไซเคิล และใช้ซ้ำผ่านนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการน้ำ บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน ISO 14001 และกฎหมาย ข้อบังคับอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุง ประสิทธิภาพและลดการใช้น้ำอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ำแล้ว เรายังมี การรณรงค์ส่งเสริมให้ลูกค้าและพนักงานช่วยกันประหยัดน้ำ และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากปริมาณการใช้พลังงานแล้ว การใช้น้ำยังเป็นทรัพยากรที่ถูกบริโภคอย่างมากในกลุ่มธุรกิจโรงแรม โดย ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ได้มีแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ และลดปริมาณการใช้น้ำ ดังนี้
- รณรงค์ให้แขกผู้เข้าพักลดการเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวเพื่อลดปริมาณน้ำจากการซักทำความสะอาด
- สร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
- ติดตั้ง Aerator เพื่อลดปริมาณน้ำไหลจากก๊อกน้ำ เลือกใช้สุขภัณฑ์รุ่นประหยัดน้ำ
- ตรวจสอบอุปกรณ์ ระบบท่อ และมาตรวัดน้ำ เพื่อตรวจเช็ค บันทึกข้อมูลการใช้น้ำ และซ่อมแซมอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันน้ำรั่ว
- สร้างแหล่งกักเก็บน้ำจากน้ำฝนในพื้นที่ที่เหมาะสม
- สร้างระบบบำบัดน้ำเสีย และมีตรวจสอบคุณภาพน้ำใช้ที่ออกจากโรงแรมเป็นประจำ
ปริมาณการดึงน้ำจากแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำ | หน่วย | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 |
---|---|---|---|---|
น้ำประปา | ลบ.ม. | 684,776.81 | 1,047,587.00 | 1,269,078.96 |
น้ำผิวดิน | ลบ.ม. | - | - | - |
น้ำบาดาล | ลบ.ม. | 10,013.00 | 145,096.00 | 146,815.00 |
น้ำทะเล | ลบ.ม. | - | - | - |
รวม | ลบ.ม. | 694,789.81 | 1,192,683.00 | 1,415,893.96 |
ปริมาณการดึงน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ในปี 2566
การบริหารจัดการคาร์บอน
เจตนารมณ์ต่อการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมเกี่ยวข้อต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งจากการเดินทางของนักท่องเที่ยวเอง การใช้พลังงานเพื่อบริการผ่านแขกผู้เข้าพักผ่านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ หรือแม้กระทั่งการปรับปรุงและก่อสร้างที่จะต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงภาพภูมิอากาศประกอบกัน
ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจโรงแรมต้องคำนึงถึงปัจจัยผลกระทบต่างๆ อย่างรอบด้าน จึงเจตนารมณ์ต่อการลดคาร์บอนองค์กรอย่างจริงจัง ครอบคลุมทุกโรงแรมในเครือ โดยต้องการสนับสนุนเป้าหมาย NDC (Nationally Determined Contributions) ของประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในปีพ.ศ. 2608 (ค.ศ.2065) รวมทั้งได้กำหนดแผนการดำเนินงานด้านคาร์บอนในระยะยาวโดยสังเขปไว้
เป้าหมาย
- สนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี พ.ศ.2050 (พ.ศ.2593) ของประเทศไทย
- ทุกโรงแรม (ร้อยละ 100) ที่บริษัทฯ บริหารจัดการเอง มีบริการที่เกี่ยวข้องกับการลดใช้พลังงานและชดเชยคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2570
Scope 1 and 2 Greenhouse Gas Emissions TonCO2e
2564
2565
2566*
*ได้รับการทวนสอบโดยหน่วยงานภายนอก
โอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ
โอกาส
ธุรกิจโรงแรมของ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ให้ความสนใจต่อการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกัน ปัจจุบัน บริษัทฯ มีกลุ่มลูกค้าองค์กรทั้งในและต่างประเทศที่สนใจการเข้าพักและการจัดประชุมที่สามารถจัดในรูปแบบของ Green Meeting หรือการเข้าพักที่สามารถชดเชยคาร์บอนได้ โดยหากบริษัทฯ มีการดำเนินงานอย่างเข้มข้นในจุดนี้ จะสามารถขยายฐานลูกค้าได้ในอนาคต นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว (Green Finance) มากยิ่งขึ้น
ความเสี่ยงและความท้าทาย
ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจการให้บริการที่มีการใช้พลังงานสูงและการใช้พลังงานส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากส่วนของผู้ใช้บริการ ซึ่งโรงแรมอาจมีอำนาจในการควบคุมหรือบริหารจัดการได้ยาก จึงนับเป็นความท้าทายของบริษัทฯ ในการก้าวไปสู่เป้าหมายเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีความพยายามในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การก่อสร้าง รวมถึงนำนวัตกรรมด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาปรับใช้ในกระบวนการธุรกิจให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ความต้องการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นจากทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ หากโรงแรมไม่ปรับตัวเพื่อพร้อมรับมือกับความต้องการที่เกิดขึ้น อาจเสียโอกาสทางธุรกิจระยะยาวในอนาคต
แนวการบริหารจัดการ
- บริหารจัดการการใช้พลังงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานที่กำหนดไว้
- เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนของโรงแรม อาทิ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ และการให้บริการลูกค้า อาทิ การเพิ่มจุดจอดรถสำหรับผู้ใช้รถไฟฟ้า (EV Charging Station)
- กำหนดเป้าหมาย แผนงาน แนวการบริหารจัดการ รวมถึงการกำหนดปีฐานเพื่อติดตาม ประเมิน และลดการปลดปล่อยคาร์บนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- สร้างความร่วมมือด้านคาร์บอนกับพันธมิตรต่างๆ
- ให้ความรู้และความตระหนักรู้แก่พนักงานและผู้บริหารเกี่ยวกับบทบาทของผู้ให้บริการโรงแรมที่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภาพภูมิอากาศ
- ยกระดับโรงแรมให้ได้มาตรฐาน Green Hotel และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
ผลการดำเนินงาน
ปี 2566 ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ได้รับการตรวจประเมินและรับรองการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO) ขอบเขตที่ 1, 2 จากหน่วยงานภายนอก และได้กำหนดเป็นปีฐานเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และมีการดำเนินงานหลักอื่นๆ ดังนี้
- ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ SCG Cleanergy สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ภายในโรงแรมในเครือ
- ร่วมมือกับ BanpuNext ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในโรงแรม
- ปลูกต้นไม้ 500 ต้นเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กรุงเทพมหานคร และปลูกป่าชายเลน 20 ไร่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับคาร์บอนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ขยายจุดให้บริการ EV Charging Station ในโรงแรมเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ริเริ่มโครงการ “STAY FOR SANTA” ร่วมกับ Carbon Market Club ชดเชยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ส่วนบุคคล 332 ตันคาร์บอนเทียบเท่าในช่วงเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่
- ESG & Carbon Knowledge Sharing ให้ความรู้ผู้บริหารระดับสูงและพนักงานจำนวน 22 คน คิดเป็นชั่วโมงการฝึกอบรม 88 ชั่วโมง
เอกสารรับรองการทวนสอบโดยหน่วยงานภายนอก
การบริหารจัดการขยะและของเสีย
เป้าหมาย
- บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณขยะฝังกลบลงร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ 2570
โอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ
โอกาส
- โอกาสทางธุรกิจในการแสวงหาวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างจุดเด่น เพื่อนำเสนอประสบการณ์แปลกใหม่ สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า ผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของโรงแรม
ความเสี่ยงและความท้าทาย
- ขยะเศษอาหารเป็นประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญสำหรับธุรกิจโรงแรม ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ และกระทบต่อประเด็นความหิวโหยที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องบริหารจัดการอย่างสมดุลเพื่อให้บริการลูกค้าด้วยประมาณและคุณภาพให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า ในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงอาหารเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการ (food loss) และการบริโภค (food waste) อีกด้วย
แนวการบริหารจัดการ
- จำแนกประเภทขยะที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะขยะเศษอาหาร และเพิ่มสัดส่วนการแยกขยะ
- สนับสนุนการใช้วัสดุรีไซเคิล หรือสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ใช้หลัก 4R: Reduce, Reuse, Recycle และ Resourcing
- ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อร่วมกันสร้างเส้นทางของขยะให้หมุนเวียนและเกิดประโยชน์สูงสุด
ผลการดำเนินงาน
- 5 พันธมิตรด้านการจัดการขยะ
- ขยะเศษอาหารลดลง 29.30% จากโครงการ Zero Food Waste
- พลาสติก 457.10 kg. ถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง
การจัดการอาหารเหลือจากการบริโภคและขยะอาหาร
บริษัทฯ ยังรณรงค์ให้ริเริ่มโครงการ Zero Food Waste ในหลายโรงแรมอาทิ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ ที่เริ่มจากการรณรงคให้พนักงานรับประทานอาหารของตนที่ให้บริการในห้องอาหารพนักงานให้หมด ไม่เหลือทิ้ง โดยได้เริ่มโครงการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ สามารถลดปริมาณขยะเศษอาหารในห้องอาหารพนักงานได้ถึงร้อยละ 29.30 ภายในเดือนแรก หรือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 12.44 ต่อเดือน
พันธมิตรในการลดขยะเศษอาหาร
มูลนิธิ Scholars of Sustenance (SOS) – องค์กรสาธารณกุศลที่ส่งต่ออาหารเหลือจากบุฟเฟต์แก่มูลนิธิและผู้ยากไร้
โรงแรมที่เข้าร่วมเครือข่าย
- โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ
- โรงแรม เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ
- โรงแรมคอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ
- กลุ่มโรงแรมแอคคอร์ (มีแผนในปี 2567)
“Yindii” – แพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์บนมือถือที่ส่งต่อเบเกอรี่จากจากบุฟเฟต์ของโรงแรมไปจำหน่ายในราคาพิเศษ เพื่อลดปริมาณอาหารที่ต้องทิ้ง
โรงแรมที่เข้าร่วมเครือข่าย
- โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ
- โรงแรม เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ
The PLEDGE on Food Waste - โครงการลดขยะจากเศษอาหารของหน่วยงาน
โรงแรมที่เข้าร่วมเครือข่าย
- โรงแรมคอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ ได้รับรางวัล All-Star
การจัดการขยะพลาสติก
ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และโรงแรมในเครือมีนโยบายงดใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) เพื่อลดปริมาณพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ รวมทั้งและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทดแทน โดยคำนึงถึงความพึงพอใจและความปลอดภัยของลูกค้า เพื่อลดการสร้างขยะพลาสติกจากต้นทาง
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จับมือกับพันธมิตรอย่าง บริษัท เอสซีจี เคมิคัล จำกัด (SCGC) และ Corsair International ประเทศไทย คัดแยกขยะพลาสติกเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง โดยมีพลาสติกที่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ 457.10 กิโลกรัม
การจัดการขยะกระดาษ
สำนักงานใหญ่และโรงแรมในเครือ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ในพื้นที่กรุงเทพฯ ร่วมกับพันธมิตร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP รวบรวมกระดาษเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดของกระดาษเหลือใช้ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนเส้นทางและรอบการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้พลังงานในการขนส่งอีกด้วย
การจัดการเพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบ
บริษัทฯ ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกขยะให้ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อมุ่งลดปริมาณขยะฝังกลบ โดยในเบื้องต้นได้เริ่มเก็บสถิติขยะฝังกลบของโรงแรมและสำนักงานใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ